วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553
การเตรียมแม่ม้าเพื่อผสมเทียม
1.บันทึกประวัติแม่ม้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติทางระบบสืบพันธุ์
- ประวัติการผสมพันธุ์ครั้งสุดท้าย
- รอบการเป็นสัด ความยาวรอบการเป็นสัด
- ระยะเวลาที่เป็นสัด
- พฤติกรรมการเป็นสัด อาการเป็นสัด
- ลักษณะของมดลูกและปากมดลูก
- ความผิดปกติอื่นๆ คลอดลูกยาก การติดเชื้อของมดลูก และกีบอักเสบ
2.สุขภาพทั่วไปของแม่ม้า
- ความสมบูรณ์ของแม่ม้า คะแนนรูปร่าง BCS
- ผลการตรวจสุขภาพทั่วไป และผลการตรวจโรคติดต่อ
- ประวัติการใช้ยา และการถ่ายพยาธิ
ขั้นตอนการดำเนินการ
1.เจ้าของแม่ม้าแจ้งความประสงค์ผสมเทียม และจองน้ำเชื้อพ่อพันธุ์กับศูนย์ฯ
2.ตรวจประเมินระบบสืบพันธุ์ ด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ กำหนดวันผสมเทียม
3.ดำเนินการผสมเทียมตามวัน เวลาที่กำหนด (ระยะเวลาเฝ้าผสมเทียม 48 ชั่วโมง)
4.อัลตร้าซาวด์ตรวจการ ตั้งท้อง หลังจากผสม 21 วัน เขียนรายงาน
5.ในกรณีที่ผสมไม่ติด ศูนย์ฯจะทำการผสมให้อีก 1 รอบ และถ้าใช้น้ำเชื้อแช่แข็งของศูนย์ฯ สามารถขอการชดเชยน้ำเชื้อฟรีได้ 1 โด๊ส
วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ข้อดี-ข้อเสียของการผสมเทียมม้า
1.ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อพ่อม้าราคาแพงมาใช้งานในฟาร์มหลาย ตัว
2.ลดอัตราอันตรายที่เกิดจากการขนส่งแม่ม้าและลูกม้า ที่ต้องไปผสมพันธุ์ยังฟาร์มพ่อม้าที่อยู่ห่างไกล
3.หากไม่มีการผสมเทียม เป็นไปได้ที่เจ้าของแม่ม้าจะใช้พ่อพันธุ์ที่อยู่ในละแวกเดียวกัน หรือระยะทางที่ไม่ห่างไกลกันเกินไปมาทำการผสมเทียมมากกว่าคำนึงถึงสายพันธุ์
4.เป็นการเพิ่มคุณค่าทางสายพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่ง ขึ้น การขนส่งน้ำเชื้อแช่เย็นหรือน้ำเชื้อแช่แข็งที่บรรจุอยู่ในถังไนโตรเจนเหลว หรือถังแช่เย็นสามารถขนย้ายได้ง่าย และขนย้ายได้ทีละหลายหลอด หรือพ่อพันธุ์หลายตัวมาในคราวเดียว
5.สามารถจัดการการผสมพันธุ์ให้กับพ่อม้าที่เจ้าของแม่ม้า ต้องการให้ผสมได้ง่าย
6.โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูกาลผสมพันธุ์ก็สามารถหลีกเลี่ยง ที่พ่อม้าจะต้องทำงานหนักได้
7.ช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับพ่อม้าที่มีปัญหาน้ำเชื้อ คุณภาพต่ำโดยเฉพาะพ่อม้าที่ตัวอสุจิน้อย และมีควมผิดปกติมากเป็นการตรวจ คุณภาพน้ำเชื้อของพ่อม้าอย่างสม่ำเสมอ
8.เป็นการหลีกเลี่ยงการผสมจริงกับแม่ม้าที่มีปัญหา
9.ที่สำคัญเมื่อเกิดอุบัติเหตุกับพ่อม้าไม่ว่าบาดเจ็บหรือ ตาย น้ำเชื้อที่เก็บแช่แข็งไว้ยังเป็นหลักประกันว่าสายพันธุ์ที่ดียังมีใช้ต่อไป ได้
10.ลดอุบัติการณ์การแพร่ระบาดโรที่เกิดจากการผสมจริง
ข้อเสีย
1. เป็นการลดความหลากหลายของสายพันธุ์ เนื่องจากมีความประสงค์ที่จะใช้น้ำเชื้อพ่อพันธุ์ที่มีคุณภาพเท่านั้น
2. เมื่อพิจารณาถึงเทคนิคและวิธีการทำน้ำเชื้อตั้งแต่การรีดเก็บน้ำ เชื้อ การเจือจางน้ำเชื้อ วิธีการลดอุณหภูมิ วิธีการแช่แข็ง วิธีการเก็บรักษา หากผู้ปฏิบัติไม่มีความเข้าใจและทักษะในการปฏิบัติงานแล้ว โอกาสผสมติดก็ต่ำไปด้วย
3. ในการใช้น้ำเชื้อผสมเทียมต้องผสมให้ตรงเวลาไข่ตกมากที่สุด
4. รายได้ของเจ้าของพ่อม้าลดลงเนื่องจากน้ำเชื้อแช่แข็งมีคุณภาพดี กว่า
สรุป
จะเห็น ได้ว่าการผสมเทียมมีทั้งข้อดีข้อเสียประกอบกันไป หากมีการปรับปรุงและพัฒนาเทคนิคและวิธีการแล้ว การนำน้ำเชื้อม้ามาใช้โดยการผสมเทียม ไม่ว่าจะเป็นน้ำเชื้อเหลว หรือน้ำเชื้อแช่แข็งก็ตาม จะเป็นการช่วยพัฒนาสายพันธุ์ม้าที่ดีในบ้านเราด้วย
ที่มา มงคล โปร่งเจริญ,2545
วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553
Top 10 Spookey things 10 อันดับชวนม้าชะแว้บ
หมอต้อย
ในสายตาของม้ามีอะไรที่มักจะทำให้ชะแว้บบ้างลองดูว่า ม้าไทย เหมือนม้าฝรั่งไหม
10.Blowing Paper:i'At any moment it could whip up into our faces, covering our noses. We could suffocate. And don't try to tell us you'd do CPR.'
กระดาษที่ปลิวลมม้า จะคิดว่า มันจะปลิวมาตีหน้าเรา ปิดจมูก เราอาจจะหายใจไม่ออก ม้าไม่คิดว่า จะมีใครมาช่วยผายปอด กู้ชีพให้ได้เทรลเมืองไทย เราเจอบ่อยยิ่งถ้าเข้าไปตามไร่ จะมีถุงพลาสติคสีต่าง ๆ ปลิวว่อน ถุงปูนตัวหนังสือหลากสี ตอนนี้แถวฮอร์สชู พอยท์ ยังมีริบบิ้นผูกที่ต้นไม้ จากแทร็คเอ็นดูแรนส์ครั้งก่อน ๆ ปลิวไปมาตามแรงลม
9.Barking Dogs:'What? You've never read Steven King's CUJO?'
หมาที่กำลังเห่า ' อะไรนะ ไม่เคยอ่านหนังสือของสตีเวน คิงส์ หรือไง เรื่อง คิวโจ้ ง่ะ
'คอมเมนท์ -หมาไทย สังเกตดูม้าไม่กลัว แม้จะเห่า แต่มักจะเห่าอยู่ไกล ๆหมาร็อตไวเลอร์ เห่าอยุ่หลังประตูบ้านฝรั่ง เวลาผ่าน ม้าจะเดินตัวเอียง แถ ๆ ออก หมาไทย ถึงจะวิ่งเข้ามาเป็นฝูง ถ้าหันหน้าม้าไปสู้ มักจะใส่ตีนหมาโกย ....ไอ้เสือ ถอย แต่ระวัง เวลาหมาหลบตามพุ่มไม้ หรือกอหญ้า แล้วผลุบ ๆ โผล่ ๆม้าเห็นแว้บ ๆ ตกใจไว้ก่อน แต่ถ้าเห็นหมายิ้ม แบบนี้ ม้าไม่เคยกลัว
8.Puddles of Water:'Quicksand.'
แอ่งน้ำบนถนน ม้าคิดว่า ทรายดูด เมื่อวานออกไปเทรล ช่วงนี้พอตกเย็น ฝนตกทุกวัน มา 1 อาทิตย์แล้ว เมื่อวานเลยเทรลเจิ่งนอง วิ่งไปหลบไป จนไปเจอแอ่งใหญ่ เลยให้พุ้ยทรายเล่นซะเลย จะพุ้ยซ้าย ขวา เพื่อดูว่าน้ำลึกแค่ไหน
หลัง จากนั้น ให้วิ่งลุยแอ่งง่ายขึ้น แต่วันรุ่งขึ้น ก็จะหลบอีกเช่นเคย
7.Trash Cans:'They've been known to swallow horses and transport them into another
dimension.'
ถังขยะใบโต ๆม้าคงจะคิดว่า มันอาจจะมีไว้กลืนม้า ส่งไปอยู่อีกโลกหนึ่ง
6.Babies and Li'l Kids:'Long lost tribe of horse-eating pygmies.'
อันดับ 6 เด็กเล็ก ๆ ม้าคิดว่า นี่คือเผ่าปิ๊กมี่ กินม้า ไม่น่าเชื่อว่า นี่คือเรื่องจริงเวลา ออกเทรล ผ่านบ้านชาวบ้าน พอเด็ก ๆ จะวิ่งมาหา ต้องรีบเตือน เพราะเคยผวาอย่างแรง จริง ๆ
5. Plaid Horse Blankets:'Hey, when was the last time you wore plaid? It adds 100 lbs.'
ใครที่ซื้อผ้าห่มสีสัน สดสวย แบบปานโช ระวังเด้อม้าคงจะผวาว่า ทุกครั้งที่วาง จะต้องแบกน้ำหนัก ทุกที
4.Ropes and Hoses on the Ground:'Dreaded North American Trail Snakes.'
ข้อนี้้ก็จริงอย่าง ยิ่งเชือกบนพื้น สายยาง ถุงน่องรองเท้า บนพื้น เคยทำคนขี่ร่วง มาแล้ว หลายคน กำลังทร็อท จังหวะสวยงาม สม่ำเสมอ เห็นรองเท้าผ้าใบ หนึ่ข้าง ข้างทาง ควั่บ ๆแอ้งแม้งสายยางตอนม้าไม่คุ้น ก็มักกระโดดข้ามบางตัวยังกลัวอยู่นานบางตัวกลัวทีเดียวแต่ ถ้าม้าอาบน้ำเห็นบ่อย ๆ ก็ชิน
4.Ponies:'Cute, cleaver, hardy. They want to take over the world.'
ตอนจูง เข้าไปกรูม ถ้าต้องผ่านโพนี่ที่ยืนอยู่น้องเฮย์ล่า จะแหยง ๆ ไม่ค่อยกล้าเดินยังคิดว่า สงสัยกลัวโพนี่เตะ
เพราะโพนี่ มักจะอารมณ์ไม่คงที่ เหมือนหญิงวัยทอง (จริงปะ)
2.Windy Days:'Two Words: impending tornado.'
วันลมแรง ๆ ม้าคงจะนึกถึงว่าจะมีทอนาโดมั้งแต่ฝน ไม่เคยกลัวแน่นอนอันดับหนึ่งยอดฮิตเลย สำหรับม้าสำหรับตัวเองไม่เคยเจอเพราะ หาดูไม่ค่อยเจอรู้แต่ว่า กว่าจะฝึกเทียมม้ากับเกวียนได้ ต้องใช้เวลาเคย มีม้า วิ่งตื่น ล้มขาหัก ต้องฉีดยาให้หลับไม่ตื่นเพราะฉะนัั้น ถ้าเราเข้าใจม้าว่ากลัวสิ่งนี้เวลาจะฝึกเทียมเกวียนให้ใจเย็น ๆ และระวังมาก ๆ อย่าให้ม้าตกใจจนสติแตก
1. Carts and Wagons:'Look. You put a human on our backs, we can always buck them off. But
hitching a horse to a wheeled object? It's just not right.'
ขี่ม้าไปเที่ยวอย่างปลอดภัย
หมอต้อย
For many people riding out on trail is the only way to ride. But even if your goal is the show ring, trail riding can provide a welcome break in routine from working in an arena for both horse and rider. Trail riding requires a little more awareness. Situations can occur that would never happen in the more controlled environment of the riding ring. Following these suggestions may make your trail riding experience safer.
มีหลาย ๆ คนที่ขี่ม้าออกเทรลอย่างเดียว แต่สำหรับคนที่มีเป้าหมายคือการขี่โชว์ในสนาม ( เดรสสาจ และโชว์จั๊มปิ้ง) การออกเทรลจะเป็นการพักผ่อน จากความเครียดที่ฝึกในสนามสำหรับทั้งม้าและคนขี่
การออกเทรลต้องการความระมัดระวังเพียงเล็กน้อย หลาย ๆ สถานะการณ์ จะไม่เกิดขึ้นถ้าขี่อยู่ในสนามที่ควบคุมได้มากกว่า เพราะฉะนั้นลองมาดูว่า ต้องมีอะไรบ้างที่จะทำให้การขี่เทรลนั้นปลอดภัย
Before You Leave the Yard:
Tell someone where you plan to go and how long you will be.
Check the weather and dress accordingly.
You’ll be more comfortable if you have snack and drink before you leave, especially if you plan to be out for more than an hour or so. Pack snacks and drinks along if you’ll be out all afternoon. (Not really a safety issue, but I get light headed if I forget to eat and that takes the fun out of a ride.) Make sure your horse has been fed and watered too.
Wear your helmet and proper boots or safety stirrups.
ก่อนออกไปให้ทำดังนี้
- สั่งเสียไว้กับคนทางบ้าน ว่าวันนี้ัจะออกไปไหน นานเท่าไร (ประโยชน์ของการขี่ม้า ถ้าไปขี่อย่างอื่น มีหรือจะบอก)
- ดูพยากรณ์อากาศก่อนว่า วันนี้จะมีฝนฟ้าคะนองหรือเปล่า แล้วแต่งตัวตามสภาพอากาศ ยกเว้นร้อนมาก ห้ามใส่สายเดี่ยว เดี๋ยวตัวพอง (ตอนนี้ที่ทำอยู่ ไม่สนเรื่องฝน อานใช้อานสังเคราะห์ ไม่กลัวน้ำ ให้ม้าชินกับฝนไป กลัวแต่ฟ้าร้องดัง ๆ กลัวฟ้าผ่า)
- เป็นการดีที่จะกินอะไรบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ รองท้องก่อน หรือถ้าคิดจะออกไปนานทั้งบ่าย หาของขบเคี้ยวติดไปบ้าง ไม่งั้นอาจจะเป็นลม (เช่นข้าพเจ้าเอง) ร่วงลงมาเอง โดยม้าไม่ได้ทำอะไร ดื่มน้ำก่อนออก ไม่งั้นอาจเป็นเทรลทรมาน ( ตอนนี้ดื่ม M-Sport ก่อนทุกครั้งที่ออกเทรล ) แล้วอย่าลืมให้ม้ากินด้วยละ อย่ากินคนเดียว
- ใส่หมวกนิรภัยทุกครั้ง (ถึงเป็นหมวกคาวบอย ก็มีนิรภัยอยู่ข้างในได้) แต่เวลาลมพัดแรงจนหมวกคาวบอยหลุด เห็นแต่หมวกนิรภัย เหมือนตัวซัวเจ๋ง ที่หัวล้านตรงกลางเลย ตาหลกมาก ๆ ๆ
ใส่บู้ทที่ไม่กัด ใส่สบาย โกลนที่ยังดี สายไม่ขาด
The Horse and Equipment:
Your horse should be calm and traffic safe. Find out before heading out on trail. Ride in a pasture along a road. Invite a dirt bike or ATV driver to ride up and down your driveway.
Your horse should be reasonably well schooled and obedient.
Your tack should always be sturdy. A broken rein might be a problem in the ring, but it could be a disaster on the trail.
If you plan to tie, take along a halter that can be put on over the bridle and a lead rope. Never tie a horse by the reins.
Take along a hoof pick, a pocket knife (some people recommend wire cutters), and a small first aid kit if you will be far from help.
If you have the technology use it. Cell phones and GPS are handy to have in an emergency. Thick tree foliage might interfere with reception, so a hilltop or open field might have to be found. Of course an old-fashioned map and compass might help too
ม้า และอุปกรณ์
- ม้าควรจะนิ่ง และคุ้นกับรถ ให้ลองขี่ในสนาม โดยมีเอทีวีวิ่งอยู่ข้าง ๆ บี้ม ๆ ๆ ดูก่อน (ซาเล้งก็ยิ่งดี - โดนมาแล้ว)
- ม้าที่ออกควรจะเป็นม้าที่มีสมบัติผู้ดีทั้ง 8 ข้อ (กลับไปดูกระทู้ สมบัติผู้ดีม้า) เชื่อฟัง
- สายโกลน บังเหียนไม่ควรชำรุด ถ้าขาดในสนามยังพอทน แต่ขาดข้างนอก..... แขนหักมาแล้ว
- ถ้าคิดจะเอาม้าไปผูกข้างนอก ควรมีเชือกไปด้วย อย่าใช้บังเหียนผูก แบบคาวบอย
- อย่าลืมติดที่แคะกีบ มีดพับ หรือคีมตัดลวด และอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่จำเป็น (เช่นพลาสเตอร์ปิดแผล)
ถ้าคุณเป็นคน ไฮเทค เอา บีบี หรือ จีพีเอสไปด้วย เผื่อให้คนตามได้ อย่าลืมไปตกตรงที่มีสัญญานชัดเจน อย่าไปตกใต้ต้นไม้ที่บังสัญญาน หรือถ้ามีแผนที่ เข็มทิศแบบโลเทค ก็ยังดี
On the Trail:
Walk the first half-mile (kilometer) or so to warm up muscles
Ride with awareness. Know where problems might occur—such as a water crossing, passing by a kennel or an unusually painted fence or mailbox.
Keep two horse distances apart to avoid kicking.
Go the speed of the greenest horse or the most inexperienced rider.
Walk up and down steep hills.
Know the local wildlife. If bears are a concern know how to prevent an encounter.
Avoid riding along roads if possible, especially at peak traffic times or in darkness.
Go the same speed. Don’t trot or gallop past someone going a slower pace.
Warn riders behind you of low branches, stumps, holes or other hazards.
Hand signals for horseback riders are the same as for cyclists. Use them to signal riders at the back of the pack and along roads.
Ride well-known trails when the light is poor such as nightfall or very early morning.
Walk your horse the last half-mile home. This will cool him out and prevent him learning to rush back to the barn.
เมื่ออยู่ในเทรล
- ให้เดินก่อน ในกม.แรก เพื่อวอร์มกล้ามเนื้อ (ไม่เห็นมีใครทำเลย)
- ขี่ด้วยความระมัดระวัง รู้ว่า อาจเกิดปัญหา ชะแว้บ เมื่อเจอ แอ่งน้ำ ผ่านคอกหมา วัว ควาย (นกกระจอกเทศ, กวาง) รั้วที่ทาสีแป๊ด หรือตู้จดหมายสีแดง
- ขี่ห่างจากตัวหน้า 2 ช่วงตัวม้า เพื่อกันเตะ
- ให้ขี่ในความเร็วของม้าฝึกใหม่ หรือมือใหม่ หัดขี่ (อีกแล้ว ไม่เห็นใครทำเลย)
- ให้เดินเวลาขึ้นและลงที่ชัน ๆ
- ให้หาข้อมูลสัตว์ป่าที่อาจเจอตามทาง เช่น หมี งูจงอาง (เคยเจอมาแล้วที่เขาใหญ่ เมื่อหลายปีก่อน)
ตอนนี้เจอแต่เก้งเอ๋ง กับนกกระปูด
- หลีกเลี่ยงการขี่บนถนนใหญ่ โดยเฉพาะช่วงเลิกงาน ไปโรงเรียน หรือเวลามืด (ใส่เสื้อสะท้อนแสงได้มะ)
- ถ้าไปเป็นกลุ่ม ให้ไปในความเร็วเดียวกัน อย่าทร็อทหรือแกลลอปผ่านเพื่อนร่วมก๊วน (เจอบ่อย)
- ตะโกนบอกเพื่อนที่ขี่ตามมา เมื่อเจอกิ่งไม้ หลุม ตอไม้ หิน เวลาผลักกิ่งไม้ ให้ผลักขึ้นเหนือหัว อย่าผลักไปข้างหน้า จะไปดีดเพื่อนที่ตามมาพอดี
- ใช้สัญญานมือ เหมือนนักขี่จักรยาน เวลาชะลอ จะหยุด เลี้ยวซ้าย ขวา ให้คนข้างหลังรู้ จะได้ไม่เกิดแอคคอเดียนเอฟเฟค
- ขี่ในเส้นทางที่คุ้นเคย ถ้าขี่ตอนพลบค่ำ หรือเช้ามืด
- ให้เดินเมื่อหนึ่งกม.จะถึงบ้าน เพื่อให้ม้าเย็นลง และไม่นิสัยเสีย วิ่งตาลีตาเหลือกกลับบ้าน (ม้ามีแนวโน้ม วิ่งเร็วขึ้น ในทิศทางกลับอยู่แล้ว)
วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2553
Horse Feeding
นายโก้
สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่มีความสนใจในการเลี้ยงม้า จากฉบับที่แล้วเราได้เตรียมคอกม้า เพื่อให้ม้าของเรามีบ้านใหม่ที่เหมาะสม อยู่แล้วมีความสุขสบาย ฉบับนี้เรามาเตรียมความพร้อมด้านอาหารให้ม้าของเรา เพื่อให้ม้ามีสุขภาพที่แข็งแรง
อาหารม้ามีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะม้าเป็นสัตว์กระเพาะเดี่ยว มีกระเพาะอาหารขนาดเล็กผนังบาง ซึ่งมีหน้าที่ในการย่อยอาหารประเภทแป้ง โดยอาหารจะผ่านกระเพาะอาหารอย่างรวดเร็วประมาณ ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง มีอาหารส่วนน้อยเท่านั้นที่ย่อยได้ในกระเพาะอาหาร แล้วอาหารจะถูกดันผ่านเข้าในส่วนของลำไส้เล็ก (Small intestine) ซึ่งมีความยาวประมาณ 25-30 เมตร อาหารที่ผ่านมาจะถูกย่อยและดูดซึมที่ลำไส้ส่วนนี้ แต่อาหารหยาบไม่สามารถย่อยได้ในลำไส้เล็ก จะถูกดันต่อเข้าไปในลำไส้ส่วนไส้ตัน (cecum) เป็นรอยต่อของลำไส้เล็ก และสำไส้ใหญ่ เหมือนไส้ติ่งในคน แต่มีลักษณะเป็นถุงใหญ่ปลายตัน จะเกิดขบวนการหมักย่อยด้วยจุลินทรีย์ แต่มีประสิทธิภาพในการย่อยได้ต่ำเพียงร้อยละ 30-40 ต่างจากในโคกระบือที่สามารถย่อยอาหารหยาบได้ถึงร้อยละ 70 ในกระเพาะหมัก
อาหารหยาบ เป็นอาหารหลักของม้าอัน มีความจำเป็นในระบบการย่อยอาหาร ให้ดำเนินกิจกรรมไปได้อย่างปกติ แต่ความสามารถในการย่อยอาหารหยาบของม้าได้ต่ำ จึงควรมีการจัดการอาหารหยาบที่ดีให้แก่ม้าทั้งในด้านคุณภาพ และปริมาณ การให้อาหารหยาบไม่เพียงพอสังเกตได้จากการ แทะรั้ว หรือผนังคอก
ในสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยนั้นอยู่ในเขตร้อนชื้น (Tropical) พืชอาหารสัตว์ที่มีอยู่ตามธรรมชาติมีคุณภาพต่ำไม่พอเพียงต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของม้า ระดับโปรตีนและแร่ธาตุต่ำแล้ว ยังมีสารที่ยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุหลายชนิด ได้แก่ Oxalate phytate ซึ่งจะยัยยั้งการดูดซึมแคลเซียม (Calcium) และฟอสฟอรัส (Phosphorus)
พืชตระกูลถั่ว ซึ่งมีโปรตีนสูงแต่ม้ากินมากไม่ได้ เพราะจะเกิดแก๊สและกรดมากเกินไป จึงไม่ควรให้พืชตระกูลถั่วเพียงอย่างเดียว ฟางและหญ้าแห้งมีคุณค่าอาหารต่ำมาก การเกิดการเสียดในประเทศไทย มักเกิดการเสียดชนิดอัดแน่น เนื่องจากการให้อาหารหยาบอย่างผิดวิธี จะต้องมีน้ำให้ม้าดื่มกินอย่างเพียงพอ สะอาดพอที่คนจะสามารถดื่มได้
เราจึงต้องเสริมอาหารข้นให้เพียงพอตามความต้องการอาหารม้าที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือ อาหารเม็ดสำเร็จรูป และอาหารผสมเอง อาหารเม็ดสำเร็จรูปผลิตโดยบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์ต่างๆ มีมากมายหลายสูตร มีข้อดีในการควบคุมการผลิตที่จะต้องได้มาตรฐานอาหารสัตว์ตามที่กฎหมายกำหนด อาหารม้าสำเร็จรูปอัดเม็ด (Pellet) มีฝุ่นละอองน้อยลดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจม้า การจัดการง่าย ราคาขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ และสารเสริมอาหารอื่นๆ
แต่ยังมีคอกม้าอีกมากที่ใช้อาหารม้าผสมเอง ซึ่งสามารถจัดสูตรอาหารตามความต้องการ ตามแต่ลักษณะการออกกำลังของม้า โดยการเลือกวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่มีในท้องถิ่น มาประกอบสูตรอาหารม้า ซึ่งจะต้องมีความรู้ในด้านโภชนศาสตร์อาหารของม้าด้วย เพื่ออาหารที่ผสมขึ้นม้านั้นจะได้ประโยชน์ตรงตามความต้องการ จะต้องมีการควบคุมคุณภาพของวัตถุดิบที่นำมาประกอบสูตรอาหาร การเสริมแร่ธาตุและไวตามินในระดับที่เหมาะสมมีความสำคัญอย่างยิ่ง
การให้อาหารข้นมากเกินไปในแต่ละมื้อ กระเพาะอาหารจะย่อยไม่ทัน ถ้าหากอาหารข้นถูกดันเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ จะเกิดการเสียสมดุลย์ของจุลินทรีย์ ทำให้จุลินทรีย์ตายและปล่อยสารพิษออกมา แล้วถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษได้
ม้าโตเต็มวัยมีความต้องการโปรตีน 10-12% ถ้าเราให้อาหารม้าที่มีโปรตีนสูงเมื่อย่อยแล้วจะได้กรดอะมิโนในปริมาณสูงเกินปริมาณต้องการ ร่างกายจะต้องทำงานหนักในการขับกรดอะมิโนส่วนเกินออกทางอุจจาระ ทำให้เกิดภาวะกรดในกระแสเลือด หัวใจเต้นเร็ว ปริมาณแอมโมเนียในกระแสเลือดสูง มีผลเสียต่อตับและไต ในม้าที่ยังโตไม่เต็มที่ การให้อาหารโปรตีนสูงเป็นการเร่งการเจริญเติบโตเกินไป อาจเกิดปัญหากระดูกผิดรูป (Developmental Orthopedic Disease) แสดงอากสารขาบิดงอ ข้อต่อยึด
หญ้าและอาหารที่ให้บนพื้นดิน หรือม้าเก็บกินอาหารตามพื้น มีทรายปะปนเข้าไปในอาหาร อาจเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียดจากทราย (Sand colic) ตามมาได้ ซึ่งตรวจได้โดยนำมูลม้าใส่ถุงพลาสติกใสใส่น้ำให้ละลาย แขวนทิ้งไว้ดูว่ามีทรายตกตะกอนหรือไม่ ถ้ามีมาควรตามสัตวแพทย์เพื่อทำการไก้ไขเอาทรายออกจากลำไส้
ควรมีการสังเกตุการถ่ายมูลของม้าทุกวัน เพื่อเป็นการตรวจสอบสุขภาพม้าได้ทางหนึ่ง มูลม้าที่สุขภาพดี ต้องทีลักษณะเกาะกันเป็นก้อน มีความชื้น นิ่ม เมื่อตกกระทบพื้นแล้วจะแตกออกแบ่งครึ่ง
ลักษณะเหลวเกินไป แสดงว่าเริ่มมีการดูดซึมอาหารที่ผิดปกติ และอาจจะเกิดการท้องเสียตามมา ลักษณะแห้งแข็งเป็นก้อน ตกพื้นไม่แตก เนื่องจากม้ากินอาหารหยาบมาก และกินน้ำน้อยเกินไป อาจจะทำให้เกิดการเสียดท้องตามมา ลักษณะแข็งมีเมือกคล้อยน้ำนมปนมา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผนังบุลำไส้ (Mucous membrane) แสดงว่าลำไส้เริ่มมีการอุดตัน เคลื่อนตัวได้ช้า เกิดการเสียดชนิดอัดแน่นตามมา
Line: nineco
Email: nineco@live.com
Facebook.com/9cohorsemanship
วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553
No Hoof No Horse “กีบเท้าม้า”
กีบม้าอยู่บริเวณปลายสุดของขา มีเล็บหรือ ผนังกีบ (Hoof wall) ด้านนอกมีความหนาแข็งแรงห่อหุ้มป้องกันเนื้อเยื่อภายใน จากความร้อน ความเย็น และเชื้อโรค และยืดหยุ่นบานขยายออกเพื่อรองรับแรงกระแทก ผนังกีบ จึงเป็นส่วนที่ช่วยในการทรงตัว รองรับน้ำหนักตัว และแรงกระแทกเมื่อม้าเคลื่อนไหว
ผนังกีบ และเนื้อเยื่ออ่อนภายในของกีบเจริญลงมาจากส่วนของไรกีบ (Coronet) กีบของม้าส่วนใหญ่จะเป็นสีดำ ถ้าผิวหนังบริเวณไรกีบเป็นสีชมพูกีบที่งอกต่ออกมาก็จะเป็นสีขาว สีของผนังกีบไม่ว่าจะเป็นสีขาวหรือดำ ต่างก็มีความแข็งแรงเท่ากัน
ผนังกีบด้านนอกสุดมีเยื่อไขมัน (periople) ห่อหุ้มไว้ซึ่งจะทำให้ผนังกีบรักษาความชุ่มชื้นไม่แห้งแตก ทำให้กีบมีความยืดหยุ่น การปล่อยปละละเลยไม่สนใจกีบม้า เอากระดาษทรายหรือตะไบด้านนอกของผนังกีบ จะทำให้ส่วนเยื่อหุ้มนี้หลุดลอกออก กีบม้าจะแห้งแตก เป็นโพรง ติดเชื้อได้ง่าย เราจึงควรดูแลกีบม้าโดยใช้น้ำมันทากีบ (hoof oil) ทาภายนอกและใต้พื้นกีบหลังจากแคะล้างทำความสะอาดกีบม้าแล้ว
การเจริญลงมาของกีบที่ปกติจะงอกยาวลงมาเท่าๆกัน ลักษณะเรียบเป็นมัน ถ้าผนังที่งอกลงมามีลักษณะเป็นวง ขรุขระ ไม่เรียบเท่ากัน เกิดจากการเจริญไม่เท่ากันของกีบ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรเปลี่ยน อาหารที่ให้มีโภชนาการที่ไม่เหมาะสม มากหรือน้อยเกินไป การให้อาหารที่มีโปรตีนสูงทำให้กีบงอกมากเกินไป ลักษณะดังกล่าวอาจจะเป็นสัญญาณของไข้ลงกีบ (Laminitis) ได้
เมื่อเรายกกีบหงายขึ้นมาดูเราสามารถแบ่งผนังกีบม้าออกเป็นหลายส่วนปลายกีบ (Toe) ด้านข้างของผนังกีบส่วนที่กว้าที่สุด (quarter) ด้านหลังจะเป็นส้นกีบ (heal) และสันรอยต่อของส้นกีบ (bar) จะเห็นรอยสีขาววิ่งรอบๆกีบถัดจากชั้นผนังกีบเข้ามา เราเรียกทับศัพท์ว่า ไวท์ไลน์ (White line) ซึ่งเป็นเส้นกั้นระหว่างผนังกีบซึ่งอยู่ด้านนอกและเนื้อเยื่ออ่อนภายใน เป็นตำแหน่งที่จะสังเกตในการตีตะปูยึดเกือกม้าเข้ากับผนังกีบ ซึ่งจะต้องตีนอกไวท์ไลน์เสมอ
ถัดจากผนังกีบและไวท์ไลน์เข้ามาก็จะเป็นส่วนของพื้นกีบ (Sole) เป็นส่วนที่อ่อนนุ่ม บางข้างใต้มีเส้นเลือดและเส้นประสาทมาเลี้ยงมาก ไม่มีหน้าที่รับน้ำหนัก หากเหยียบก้อนหิน ตะปู หรือการใส่เกือกที่ผิดมีการกดน้ำหนัก ลงส่วนของพื้นกีบก็จะเกิดการบอบช้ำ (รองช้ำ) อักเสบ เกิดโพรงฝี และติดเชื้อได้ สังเกตจากลักษณะการวิ่งเรียบ (tort) แสดงอาการกระเผก (lameness)
การใช้มีดปาดกีบคว้านพื้นกีบลงไปมากๆ ทำให้พื้นกีบบางเกินไปทำให้ช้ำง่าย แต่การไม่ปาดพื้นกีบออกเลยก็จะทำให้เวลาใส่เกือกม้า ก็จะเกิดการกดทับพื้นกีบ เกิดรองช้ำได้ ซึ่งจะทำให้เกิดฝีหนองในเนื้อเยื่ออ่อนของกีบ ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะเป็นโพรงฝีลุกลามทะลุออกมาทางไรกีบ (coronet) โพรงฝีนี้จะทำให้การงอกของผนังกีบ (hoof wall) ที่งอกออกมาใหม่มีลักษณะบิดเบี้ยวม้าอาจมีอาการเสียวไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีก็จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อลุกลามทำให้กีบม้าหลุดออกมา ม้าไม่สามารถลงน้ำหนักลุกยืนและตายได้ในที่สุด
บัว (Frog) ลักษณะสามเหลี่ยมคล้ายดอกบัว อยู่กลางพื้นกีบค่อนมาทางท้ายของกีบ เป็นเนื้อเยื่อเอ็นที่มีความยืดหยุ่น รับและกระจายแรงกระแทกเมื่อพื้นกีบกระทบพื้นเมื่อเกิดการเคลื่อนที่ บัวเปรียบเสมือนส้นรองเท้าของคนที่ช่วยให้เดินวิ่งสบายกระจายแรงกระแทกของผ่าเท้า โดยส้นเท้าและผ่าเท้าไม่กระแทกพื้นจนเจ็บ การตัดแต่งกีบม้าด้วยการปาดเอาบัวออกก็จะทำให้ม้าขาดส่วนที่รับแรงกระแทก
เนื้อเยื่อของบัวจะมีต่อมเหงื่อ กีบม้าที่ไม่ได้รับการดูแล แคะทำความสะอาด ยืนอยู่ในคอกที่ชื้นแฉะ ทำให้บัวมีกลิ่นเน่าเหม็น มีโอกาสติดเชื้อราได้ บัวที่สุขภาพไม่ดีก็จะทำหน้าที่ไม่เต็มที่ ต้องมีการดูแลความสะอาดของกีบและสภาพแวดล้อมในคอกให้สะอาดด้วย
การเคลื่อนที่ของม้า ลักษณะการก้าวเดินม้าจะลงน้ำหนักที่ส้นกีบ (heal) ก่อนบัว (frog) และผนังกีบ (hoof wall) จะขยายบานออกทางด้านข้างและหดกลับเมื่อม้ายกกีบขึ้นจากพื้นม้าที่มีการใส่เกือกโดยตอกตะปูตัวสุดท้ายใกล้ส้นกีบ (heal) เกือกจะบีบส่วนนี้ไว้ทำให้ผนังกีบส่วนนี้ยืดขยายไม่ได้ กีบจะรองรับแรงกระแทกไม่ดี จะทำให้กีบค่อยๆห่อตัวหดเข้ามา ม้ากีบห่อ (club hoof) จะรับแรงกระแทกได้ไม่ดีทุกครั้งที่กีบลงพื้น แรงสะเทือนจะถูกส่งขึ้นไปตามขา ตาตุ่ม (felt lock) ข้อเข่า (knee) มีผลทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมา
ภายในกีบจะมีกระดูกปลายนิ้วเท้า (coffin bone) และกระดูกรูปเรือ (navicular bone) ต่อขึ้นมาจะเป็นกระดูกข้อนิ้วที่ 2 (short pastern) และกระดูกนิ้วข้อแรก (long pastern) เป็นส่วนของข้อเท้าม้าส่วนนี้จะได้รับการบาดเจ็บเนื่องจากความผิดปกติโดยตรง ต่อขึ้นมาจะเป็นกระดูกหน้าแข้ง (cannon bone) ส่วนที่ต่อกับข้อเท้าจะมีกระดูกลูกรอก (sesamoid bone) รองรับเส้นเอ็น ด้านหลังของกระดูกหน้าแข้งจะมีกระดูกอีกสองชิ้น (splint bone) กระดูกทั้งหมดนี้เป็นกระดูกขาส่วนล่างที่มีผลต่อการเคลื่อนที่ของม้า ซึ่งจะต้องมีความสมดุลเพื่อให้การเคลื่อนไหวเป็นปกติ ถ้าหากกระดูกและข้อต่อของม้าไม่สมดุลก็จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของม้าผิดปกติ การเคลื่อนไหวที่ผิดปกตินานๆจะทำให้ข้อต่อผิดปกติบิดงอเกิดอาการข้อเสื่อม กระดูกเสื่อม ข้อตาตุ่มอักเสบ ข้อตาตุ่มมีหินปูนมาพอก มีกระดูกงอก เอ็นยึด และน่องยานตามมา
การปาดกีบม้าให้มีส้นกีบสูง ลักษณะกีบจะตั้งทำให้กระดูกภายในเกิดมุมหักลงผิดธรรมชาติ ด้านหน้าของกระดูกข้อนิ้วจะมีแรงกดกระแทกมากม้าวิ่งเร็วก็มีโอกาส ข้อเท้าอักเสบ หรือเกิดชิ้นกระดูกแตกในข้อเท้าได้ ในทางกลับกันถ้าเราปาดกีบให้ส้นกีบเตี้ยและปลายกีบยาว (Long toe low heal) กระดูกข้อนิ้วเกิดมุมลาดลง ดึงให้เอ็นที่อยู่ด้านหลังของขาตึงมาก เกิดน่องยาน ถ้ารุนแรงอาจจะทำให้กระดูกลูกรอกแตกได้
การแต่งกีบด้านในและด้านนอกของกีบก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมาได้เช่นกัน ถ้าเราตัดผนังกีบด้านในมากเกินไปผนังกีบด้านนอกจะยาวกว่า ปลายกีบจะชี้ออกด้านนอกจะทำให้การวางเท้าของม้าไม่สมดุล เมื่อมีการเคลื่อนไหวขาจะวกเข้าด้านในและปลายกีบจะปัดออกนอกแนวของลำตัว (toe out) ทำให้เกิดการเช็ดข้อเท้า () ส่งผลให้ม้าเจ็บขาเมื่อออกกำลังกายต่อเนื่อง ในทางตรงข้ามถ้าเราตัดเอาผนังกีบด้านนอกออกมากผนังกีบด้านในยาวกว่าด้านนอก ปลายกีบชี้เข้าหาตัวเมื่อเคลื่อนไหวขาจะวงออกด้านนอกแล้ววางลงพื้นโดยปลายกีบชี้เข้าด้านใน (toe in) การแต่งกีบที่ไม่ได้สมมาตรดังกล่าวจะส่งผลต่อม้ากีฬาชัดเจน ม้าที่แนวการเคลื่อนที่ของขาตรงจะวิ่งได้เร็วที่สุด ไม่วกเข้าข้างในหรืออ้อมออกทางด้านนอกเพราะระยะทางที่สั้นกว่าในการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว
การแต่งกีบม้าเริ่มด้วยการทำความสะอาดพื้นกีบโดยใช้ที่แคะกีบ (hoof pick) และมีดแต่งกีบ (hoof knife) ปาดส่วนพื้นกีบหรือโซลทางส่วนปลายกีบก่อน (toe) ปาดส่วนด้านข้าง (quarter) ทั้งด้านซ้ายและขวา ควรปาดบางๆเอาพื้นกีบที่มีลักษณะเปื่อยยุ่ย เป็นหลุมโพรงออกให้สะอาด ตลอดจนร่องบัวและสันร่องบัว (bar) มองจากทางส้นกีบสร้างเส้นสมมุติขึ้นเป็นรูปตัว T สังเกตว่าผนังกีบ (wall) ส่วนไหนที่เกินออกมา จากนั้นให้ใช้คีมตัดกีบ (nipper) ตัดผนังกีบโดยการวางปากคีมให้ตั้งฉากกับพื้นกีบ ห่างจากแนวไวท์ไลน์ (white line) เล็กน้อย จะเริ่มตัดผนังกีบจากส่วนส้นกีบไปจนถึงปลายกีบ
จากนั้นใช้ตะไบ (rasp) ตะไบพื้นกีบโดยวางในแนวนอนขนานพื้นดิน ออกแรงถูตะไบจากด้านปลายกีบเข้าหาส้นกีบ การออกแรงถูตะไบจากส้นกีบจะทำให้มีการออกแรงมากเกินไปทำให้กีบไม่เสมอ เมื่อพื้นกีบเรียบเสมอกันดีแล้ว ก็ตะไบขอบผนังกีบเพื่อลบมุมป้องกันการขูดขีดกับพื้นและฉีกขาดได้ ควรระวังอย่าตะไบผิวของผนังกีบจนส่วนเยื่อหุ้มผนังกีบ (periople) ลอกหลุดหมดกีบจะขาดส่วนที่รักษาความชุ่มชื้นของผนังกีบไว้
การแต่งกีบต้องทำให้สมดุลโดย มองกีบจากด้านข้าง ผนังกีบต้องทำมุมตรงกับกระดูกอย่าให้เกิดมุมที่ไรกีบตั้งหรือนอนเกินไป มองกีบจากด้านหน้า ผนังกีบด้านนอกและด้านในต้องยาวเท่ากัน ยกดูพื้นกีบบริเวณกีบทางซ้ายและขวาเท่ากัน ตัดแต่งบัวได้เล็กน้องห้ามตัดบัวทิ้ง อย่าใช้สิ่วตอก เพื่อตัดเล็บเพราะผนังกีบส่วนที่รับน้ำหนักจะถูกตัดทิ้งไป
เกือกม้ามีไว้สำหรับช่วยผนังกีบในการรองรับน้ำหนัก รับการเสียดสีกับพื้นดิน ช่วยให้กีบสึกช้าลงไม่แตกบิ่นซึ่งจะทำม้าได้รับบาดเจ็บได้ เกือกมีทั้งเป็นเหล็กกล้า อลูมิเนียม และวัสดุสังเคราะห์ ตะปูที่ใช้ยึดระหว่างเกือกม้าและผนังกีบมีความเฉพาะทำด้วยโลหะผสมมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นได้เล็กน้อย ปลายด้านหนึ่งของตะปูจะถูฝานออกเมื่อตอกเข้าผนังกีบแล้วตะปูก็จะโค้งตัวทะลุออกมาได้
เกือกที่ใส่จะต้องพอดีกับกีบเท้าของม้า ซึ่งจะต้องใส่ด้วยช่างเกือก (farriors) ที่มีความชำนาญ เพราะเราจะต้องดัดเกือกม้าให้เข้ารูปทรงเหมาะสมพอดีกับกีบม้า “เราไม่สามารถดัดกีบม้าให้เข้ากับเกือกได้” การใส่เกือกที่เล็กเกินไปจะทำให้กีบเท้าห่อไม่สามารถขยายกระจายแรงได้ ทำให้ม้าเจ็บเท้าและเกิดความเสียหายของเส้นเอ็นดังที่กล่าวมาแล้ว
การดูแลรักษากีบม้าจะต้องมีความรู้และเข้าใจดังที่กล่าวมาแล้วนั้น จะส่งผลให้ม้าของเรามีสุขภาพกีบที่ดี มีความสามารถในการใช้งานและอยู่กับเราได้นานขึ้น
1. heel perioplium
2. bulb
3. frog
4. central groove
5. collateral groove
6. heel
7. bar
8. seat of corn
9. pigmented walls (external layer)
10. water line (inner layer)
11. white line
12. apex of frog
13. sole
14. toe
15. how to measure width
16. quarter
17. how to measure length
1. Coronet
2. Walls
3. Toe
4. Quarter
5. Heel
6. Bulb
7. pastern
วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553
การคำนวณน้ำหนักม้า
วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ฟัน...........บอกอายุม้า?
สำหรับการดูฟันและดูการเปลี่ยนแปลงของฟันนั้นสามารถบ่งบอกอายุม้าได้แน่นอนและใกล้เคียงมากกว่าโดยอาศัยดูจากการงอกของฟันหน้า (Incisors) เป็นวิธีที่ง่าย และสะดวก เพียงแต่ท่านเปิดปากดูฟันหน้าของม้าแล้วสังเกตุให้ละเอียดถี่ถ้วนท่านก็จะสามารถประมาณอายุม้าได้ ในช่วงอายุประมาณ 5 ปี ส่วนวิธีการดูการสึกหรือการเปลี่ยนแปลงของฟันจะสามารถบอกถึงอายุม้าที่มีอายุมากขึ้นได้ แต่ผู้ตรวจจะต้องมีความรู้และมีความชำนาญพอควร ต้องอาศัยการฝึกปฏิบัติ จะดูจากตำราอย่างเดียวไม่ได้
จำนวนและชนิดของฟันโดยปกติม้าจะมีฟันอยู่ 2 ชุด ซึ่งเหมือนกับคน คือ ฟันน้ำนม (milk teeth, temporary teeth หรือ Decidous teeth) เป็นฟันชุดแรก และฟันแท้ (permanent teeth) เป็นฟันชุดที่ 2
ฟันน้ำนมและฟันแท้มีส่วนแตกต่างกันดังนี้คือ
1. ฟันแท้มีลักษณะใหญ่กว่าและยาวกว่า
2. ฟันแท้ระหว่างรากฟันและส่วนที่ใหญ่จากเหงือก คือ คอฟัน จะมีลักษณะกว้างกว่าฟันน้ำนม
3. ฟันแท้จะมีร่องตั้งฉากและขนานกับขอบของฟันตัดด้านหน้า
4. ฟันแท้จะมีสีเข้มกว่าฟันน้ำนม
5. ส่วนโค้งของตัวฟันแท้จะแบนน้อยกว่า
ฟันของม้าจะมีฟันชนิดต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ฟันหน้า (Incisor teeth) มี 12 ซี่ เป็นฟันบน 6 ซี่ ฟันล่าง 6 ซี่ ฟันหน้ากึ่งกลางเรียกว่า ฟันตัดกลาง (Central incisor) คู่ต่อไปเรียกว่าฟันตัดข้าง (Lateral / Intermediate incisor) ส่วนคู่นอกสุดหรือคู่สุดท้ายเรียก ฟันตัดมุม (corner incisor)
2. ฟันเขี้ยว (canine หรือ tush) ในตัวเมียเขี้ยวอาจจะงอกขึ้นเป็นตุ่มเล็กๆ เท่านั้น หรือไม่มีเลย ส่วนตัวผู้จะงอกออกมาข้างละ 1 เขี้ยว ทั้งบนและล่าง เป็นฟันถาวร
3. Wolf teeth มีลักษณะเป็นตุ่มฟันเล็กๆ เกิดขึ้นหน้าฟันกรามคู่แรก (premolar of milk teeth) wolf teeth มีโอกาสพบที่กรามบน ไม่ค่อยพบในกรามล่าง โดยทั่วไปจะมีการหลุดออกมาพร้อมกับฟันกรามน้ำนม (milk premolar) ซี่ที่ 2 และไม่มีการงอกขึ้นมาใหม่อีก แต่ก็มีบางตัวที่ยังคงเหลืออยู่ต่อไป
4. ฟันกราม (Premolar and Molar teeth) หรือ ฟันบด (grinders) มีทั้งหมด 24 ซี่ เป็นฟันบน 12 ซี่ และฟันล่าง 12 ซี่ อยู่ทางด้านหลังของ Interdental space
ในตัวผู้ เมื่อฟันแท้ขึ้นครบ จะมี 40 ซี่ หรือ 42 ซี่ ซึ่งประกอบด้วยฟันหน้า 12 ซี่, เขี้ยว 4 ซี่, ฟันกราม 24 ซี่ หรือ 26 ซี่
ส่วนตัวเมียจะมีฟันแท้ทั้งหมด 36 ซี่ หรือ 38 ซี่ ส่วนที่ไม่มี คือเขี้ยว 4 ซี่
ส่วนต่าง ๆ ของฟันหน้าที่จะนำมาประกอบในการทายอายุคือ
1. Infundibulum (cup) เป็นหลุมหรือช่องสีดำจะตื้นและในที่สุดจะหายไป (ภาพที่ 3) ใช้ประกอบในการทายอายุช่วง 6-8 ปี ฟันที่จะถือว่าหลุมหายไปจะต้องมีลักษณะ “Level” Level tooth หมายถึงฟันที่ลึกไปจนเกิดเห็นรอยสีเหลืองของ dentine แยกวงนอกและวงในของ enamel
2. รูปร่างของผิวบดของฟัน (occlusal surface หรือ table surface) ในฟันหน้าที่อายุน้อยผิวบดของฟันจะไปตามแนวหน้าตัดตามขวางของลำตัว และมีรูปร่างกลมรี ส่วนฟันที่สึกไปแล้วมันจะมีลักษณะเป็นลูกบาศก์และจะกลม ฟันล่างจะกลมเมื่ออายุประมาณ 10 ปี และจะเป็นรูปสามเหลี่ยมโดยจะมีฐานของสามเหลี่ยมอยู่ทางผิวฟันด้านหน้าด้านรีมฝีปากเมื่ออายุ 15 ปี และเมื่ออายุ 20 ปี จะมีรูปร่างกระสวย
3. Galvayne’s groove เป็นร่องสีเหลืองตามยาวฟันบนผิวข้างหน้า ฟันด้านริมฝีปากของฟันตัดมุมบนซี่ที่ 3 ร่องนี้จะเห็นที่ใกล้เหงือกเมื่ออายุประมาณ 10 ปี และจะลงมาถึงประมาณกลางฟันเมื่ออายุ 15 ปี และจะลงมาถึงปลายล่างติดกับผิวบดของฟันเมื่ออายุ 20 ปี และมันจะออกห่างจากเหงือกมาตรงระดับกึ่งกลางฟันเมื่ออายุ 25 ปี และจะหายไปจากฟันเมื่ออายุ 30 ปี ดังนั้น สรุปได้ว่าร่องนี้ออกมาจากเหงือกจนเต็มฟันใช้เวลา 10 ปี (อายุตั้งแต่ 10-20 ปี) และจะถอยห่างออกจากเหงือกจนหายไปจากฟันกินเวลา 10 ปี เช่นกัน (อายุตั้งแต่ 20-30 ปี)
4. มุมมองฟันหน้าบนและล่างที่บรรจบกัน มันจะมีลักษณะเป็นมุมแหลมมากขึ้นเมื่อม้ามีอายุมากขึ้น
5. ภาพด้านหน้าของฟันม้า ฟันหน้าของฟันม้าอายุน้อยจะเบนห่างออกจากแนวกลาง ส่วนในม้าที่มีอายุมากจะเบนเข้าหาแนวกลาง
6 แนวกระดูกรามตรงฟันหน้า ในม้าอายุน้อยแนวนี้จะโค้งและในม้าอายุมากจะมีลักษณะตรง
ระยะที่ 1 ดูการงอกของฟันน้ำนม
2-4 วัน ฟันน้ำนมคู่กลาง Temporary central incisors งอก
4-6 อาทิตย์ ฟันน้ำนมคู่ถัดมา Temporary lateral incisors งอก
6-10 เดือน ฟันน้ำนมคู่มุม Temporary corner incisors งอก
1 ปี ส่วน Crown ของ Temporary central incisors เริ่มสึก
1 1/2 ปี ส่วนของ Crown ของ Temporary corner incisors
ระยะที่ 2 ดูการหลุดของฟันน้ำนม และการงอกของฟันแท้งอกแทน
2 1/2 ปี Temporary central incisor หลุด central incisor งอกแทน
3 1/2-4 ปี Temporary Lateral incisor หลุด later incisor งอกขึ้นแทน
4 1/2-5 ปี Temporary corner incisor หลุด corner incisor งอกขึ้นแทน
5 ปี มีเขี้ยวงอก (ตัวเมียเขึ้ยวเป็นตุ่มเล็ก ๆ ตัวผู้เขี้ยวจะยาว)ส่วน corner incisor มีลักษณะ ขอบหลังยังไม่จดกัน ฟันทุกซี่จะมีร่องฟันใหญ่และลึกแต่ละ cup ของ central จะตื้น ระยะนี้เรียกว่า ‘Full mouth”
ระยะที่ 3 ดูจากขนาดและรูปร่างของ cup ในฟันล่าง
6 ปี cup of central ทางใน
7 ปี cup of lateral ตื้นขึ้นหรือทางใน , 7- year hook (noteb) จะทำที่ upper corner
8 ปี Cup of corner ตีบมากมีลักษณะกลม , central จะลักษณะ เป็นรูปสามเหลี่ยม enamel ring จะอยู่ด้านหลังของฟัน และมี dental star อยู่ทางด้านหน้า lateral จะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม และมี central star และจะมี Gylvayne’s grooveที่ upper corner crown ของฟันจะยาว และทำมุมตั้งกับฟันล่าง (angle of incidence)
ระยะที่ 4 ม้าอายุมาก (การทำนายอายุดูค่อนข้างยาก)
10-12 ปี Gylvayne’s groove เห็นชัดเจน, เป็นรูปสามเหลี่ยม enamel ring เล็กลงและกลมขึ้น และอยู่ด้านหลังของฟัน, Dental star จะแคบเข้าแต่เห็นชัด และอยู่ตรงกลางฟันมากขึ้น
13-17 ปี Enamel ring จะหายไป ,อายุ 15 ปี Gylvayne’s groove จะเลื่อนลงไปทั้งส่วนของ cupper cornor ประมาณครึ่งทางระหว่างขอบเหงือกและขอบล่างของฟัน crow จะยาวไป Angle of incisor จะทำมุมแคบลง
17-20 ปี Enamel ring ทางใน , dental star ใหญ่และเห็นชัดขึ้น อยู่ตรงกลางฟัน, angle of incisor จะยิ่งแคบขึ้น อายุ 20 ปี Galoayne’s goove จะยาวตลอดฟัน พื้นผิวฟันจะเรียบ และเป็นรูปสี่เหลี่ยม แบ่งร่องระหว่างพื้นที่ระดับพื้นผิวฟันจะห่างกันมากขึ้น
20 ปีขึ้นไป ส่วน crown จะสั้นลง , Galvayne’s goove ตรงส่วนที่ติดขอบเหงือกจะเริ่มจางหายไป และจะหายไปหมดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี
โดยสรุป จะพบว่าการประเมินอายุม้าโดยการดูจากฟันจะต้องเข้าใจถึงลักษณะทางกายวิภาคของฟัน การงอกของฟันน้ำนม และฟันแท้ ลักษณะการสึกของฟัน ซึ่งการดูการสึกของฟันนั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่จะต้องดูประกอบด้วยเช่น นิสัยของม้าว่าชอบกัดแทะหรือไม่ ลักษณะของการให้อาหารถ้าปล่อยให้แทะเล็มหญ้าฟันก็อาจมีการสึกได้มากเพราะอาจจะมีการกัดแทะโดนกรวดหรือเศษหินได้ เป็นต้น ในการประเมินอายุม้าจะมีความเม่นยำมากในช่วงอายุ 5 ปีซึ่งจะดูการงอกของฟันน้ำนมและฟันแท้ ส่วนในช่วงหลังจาก 5 ปี ขึ้นไปจะดูจากการสึกของฟันซึ่งจะค่อนข้างยากและต้องอาศัยประสบการณ์ในการดูบ่อยๆ และจะพบว่าความแม่นยำจะน้อยลงไม่เหมือนกับในช่วง 5 ปีแรก
วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
คอกม้านั้นสำคัญไฉน
คอกม้า เป็นสิ่งสำคัญในอันดับต้นๆในการตัดสินใจเริ่มต้นที่จะเลี้ยงม้า ถ้าท่านเป็นคนหนึ่งที่มีความคิดจะหาม้ามาเลี้ยงซักตัว ก็ควรจะมีบ้านให้แก่ม้าที่คุณต้องการจะเอาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว เพื่อนๆหลายคนเคยปรึกษาผมว่าจะหาซื้อม้าได้ที่ไหน จะซื้อม้าพันธุ์อะไรดี แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงสิ่งแรกคือ คอกม้า
คอกม้า เปรียบเสมือนบ้านหลังหนึ่งของม้าเป็นที่ ที่ม้าใช้ชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในนั้น อันจะป้องกัน แสงแดด สายลม และพายุฝน เป็นที่กิน ที่นอน และสุขาอยู่ในตัว บ้านของเรายังมีการจัดสรรห้องครัว ห้องนอน หน้องน้ำแยกออกจากกัน แต่ม้าล่ะ เราจะจัดการให้เค้าอยู่อย่างไร
หลังคาคอกม้าก็มีความสำคัญไม่ต่างจากหลังคาบ้านของเรา วัสดุในการทำหลังคานั้นมีมากมายหลายชนิด กลุ่มแรกเป็นวัสดุชั่วคราว อันได้แก่ หญ้าแฝก หญ้าคา ตับจาก และผ้าใบ วัสดุกลุ่มนี้เป็นวัสดุที่มีราคาค่อนข้างต่ำ ระบายความร้อนค่อนข้างดี แต่อายุการใช้งานสั้น มักเกิดปัญหารั่วซึมในฤดูฝน ในบางฟาร์มที่ใช้หญ้าคาแล้วความสูงของหลังคาต่ำกว่า 2.5 เมตร ม้ามักจะยืดคอไปเล็มชายคา ซึ่งจะเป็นอันตรายถ้าม้าเคี้ยว เชือก หรือลวดเข้าไปด้วยจะทำให้เกิดการสะสมของสิ่งแปลกปลอมในกระเพาะ อันตรายกว่านั้นลวดอาจทะลุกระเพาะทำให้ม้าตายได้
กลุ่มสองได้แก่ สังกะสี กระเบื้อง และเมททัลชีท เป็นวัสดุที่มีความทนทานตามลำดับ สังกะสี ราคาไม่สูงนักน้ำหนักเบาทำให้ประหยัดโครงสร้างของหลังคาลงไปได้ แต่สังกะสีก็มีข้อเสียที่เราๆทราบกันดี คือจะสะสมความร้อนใต้หลังคาในเวลากลางวัน สามารถฉีกขาดได้ถ้าหากมีพายุลมแรง กระเบื้องป้องกันความร้อนได้ดี แต่มีราคาแพง น้ำหนักมาก โครงสร้างใต้หลังคาจะต้องมั่นคงแข็งแรง เมททัลชีทเป็นวัสดุที่กำลังได้รับความนิยม เนื่องจากติดตั้งง่ายสามารถสั่งความยาวได้ตลอดแนวหลังคา ป้องกันความร้อนได้ดี
ผนังกั้นระหว่างคอกควรมีลักษณะทึบเพื่อป้องกันไม่ให้ม้าทำร้ายกันเองระหว่าคอกขอเล่าประสบการณ์ตรงที่เกิดขึ้นกับม้าผมเอง ที่ฟาร์มผมจะมีคอกพ่อม้าเป็นคอกโปร่งกั้นด้วยท่อเหล็ก แข็งแรงดี อยู่มาวันหนึ่งมีม้าตัวเมียเป็นสัด มุดหัวเข้าไปช่องว่างระหว่างท่อเหล็ก ถูกพ่อม้าเตะเข้ากลางหว่างคิ้ว เหนือหัวตามานิดหน่อย ปรากฎว่ากระโหลกแตก อยู่มาได้ไม่นานก็ตายลง
ส่วนจะสร้างด้วยวัสดุไม้ราคาค่อนข้างสูงตามแต่เนื้อไม้ที่เรานำมาสร้าง ไม้เนื้ออ่อนอาจจะไม่ทดแดดฝน ไม้ที่นำมาทำคอกควรจะขัดให้เรียบไม่มีเสี้ยน เก็บหัวตะปูให้เรียบร้อย อาจทำให้เกิดบาดแผลต่อม้าได้ ม้าบางตัวที่มีนิสัยกัดคอกก็จะแทะทำลายคอกม้าได้
กำแพงที่ก่อด้วยปูนควรเทเอ็นเพื่อเสริมความแข็งแรงแล้วฉาบให้เรียบร้อย ก็จะแข็งแรงทนทานนานปี กันแดดกันฝนสาดได้ดี
พื้นคอกควรเทปูน เพื่อล้างและทำความสะอาดได้ดี มีร่องน้ำท้ายคอกระบายน้ำออกสู่บ่อพักน้ำเสีย วัสดุปปูรองมีหลากหลายให้เลือกทั้ง ทราย ขี้เลื่อย แกลบ ซังข้าวโพดบด ตามความสะดวก ควรเปลี่ยนวัสดุปูรองเมื่อเห็นว่าสกปรก การจัดการในฟาร์มผมจะเติมวัสดุปูรองเพิ่มทุกสัปดาห์ พอ 4 สัปดาห์ ก็จะขนออกไปทำปุ๋ยทั้งหมดแล้วล้างทำความสะอาดคอก
ขนาดของคอกม้ายิ่งกว้างก็ยิ่งดีครับ ควรจะมีความกว้าง 3 เมตร และความยาว 3 เมตรเป็นอย่างน้อย ถ้าท่านเลี้ยงม้าขนาดใหญ่เช่น ม้าวอร์มบลัด ม้าโธโรเบรท(ม้าแข่ง) ก็ควรจะขยายความกว้างอีก ถ้าท่านทำคอกแฝดหันหน้าเข้าหากัน ก็เว้นที่ว่างหน้าคอกประมาณ 3 เมตร เพื่อให้รถกระบะสามารถผ่านได้ก็จะทำงานได้ง่ายขึ้นเมื่อต้องให้อาหารหรือทอดหญ้า
สุดท้ายคอกม้าที่ดีจะต้องสะอาด แห้ง อากาศถ่ายเทสะดวก ควรมีห้องเก็บอาหารและหญ้าแห้งเป็นสัดส่วน ห้องเก็บอุปกรณ์ขี่ม้า และเวชภัณฑ์ที่จำเป็น ไม่มีเหลี่ยมมุมหรือสิ่งแหลมคมที่จะทำอันตรายกับตัวม้าได้ เท่านี้ม้าที่ท่านรัก ก็สามารถใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังใหม่ได้อย่างมีความสุข สวัสดีครับ